Category Archives: Business

พูดเรื่องเทรนด์การขายออนไลน์ในปี 2019 กันหน่อย


เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กฏหมายใหม่ของกรมสรรพากรคลอด ระบุให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการการเงินทุกเจ้า ส่งข้อมูลลูกค้าที่เข้าข่าย ส่งผลให้ผู้ขายออนไลน์ที่เลี่ยงภาษีอกสั่นขวัญแขวน

#เวลานี้คือโอกาส ในปี-สองปีนี้ ผมคาดว่า ผู้ขายที่ไม่อยู่ในระบบภาษีจะลดน้อยลง และจะค่อยๆ ล้มหายตายจาก เพราะจะมีการเก็บข้อมูลรายได้ส่งสรรพากร การขายตาม marketplace แล้วไม่ยื่นภาษีหรือยื่นไม่ตรงตามจริง สร้างความเสี่ยงอย่างมาก”

การขายทุกวันนี้ขายเฉพาะในเว็บไซต์, IG, Facebook ของตัวเองอย่างเดียวไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะว่า เทรนด์การซื้อสินค้า ของคนไทย จะวิ่งเข้าไปหา marketplace อันดับต้นๆ ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่เจ้า ขอพูดถึงแค่ 2 อันดับคือ Lazada และ Shopee

มันมีวันหนึ่งที่ ผมคุยกับเพื่อนที่ชอบวิเคราะห์ตลาด เขาก็จะพูดว่า คนไทยติดโซเชียลมาก การซื้อสินค้าใดๆ จะต้องมีการอวดไปในตัวมีการถ่ายภาพและพูดถึงและแชร์เทรนด์การซื้อที่กำลังฮิตกันอยู่

สมมติเว็บไซต์, IG, Facebook คุณ ชื่อว่า “AAA” คนที่มาซื้อสินค้าเว็บ “AAA” ของคุณ เขาก็จะไม่แชร์อะไรเกี่ยวกับคุณ เพราะว่าคุณ no name มาก เค้าจะแชร์เฉพาะตัวสินค้าที่ซื้อมา ไม่มีการ reference อะไรมาก ว่าซื้อจากไหน หากยอดฟอลโล่วเพจ ต่ำกว่า 500,000 เรียกได้ว่า ตลาดวงมันแคบ ต้องหมดงบไปกับการโฆษณามหาศาล ทุกวันนี้ใครๆ ก็ขายของ ถ้าคุณยังขายเฉพาะที่ๆ คุณขาย ไม่มองโอกาสอื่น คุณน่าจะรู้สึกยอดขายที่ตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ขายของที่หาซื้อได้เกลื่อน

แต่คนที่ซื้อสินค้าจากช้อปปี้หรือลาซาด้า เขาจะพูดเรื่องนี้ได้ทั้งวันและเขาจะถ่ายรูปหรือแชร์สินค้าที่เขาเพิ่งซื้อหรือกำลังมองอยู่ อวดกันได้ตลอด

อันนี้คือเหตุผลหลักเลยว่าทำไมเราต้องลงไปขายในช้อปปี้และลาซาด้าด้วย เพราะคนขายสินค้าเยอะขึ้น คนทุกคนทำรายได้เสริม เพราะขายสินค้าง่ายนิดเดียว

เวลานี้คือโอกาส ในปี-สองปีนี้ ผมคาดว่า ผู้ขายที่ไม่อยู่ในระบบภาษีจะลงน้อยลง หันมาเข้าระบบมากขึ้น ส่วนที่ขยับขึ้นมาไม่ได้ และ สายป่านสั้น จะค่อยๆ ล้มหายตายจาก เพราะสถาบันการเงินและผู้ให้บริการการเงิน เช่น ธนาคาร และ อีวอลเล็ต (แอร์เพย์ ของชอปปี้ก็ถูกรวมเข้าไปด้วย) จะมีการเก็บข้อมูลรายรับส่งสรรพากร การขายตาม marketplace แล้วไม่ยื่นภาษีหรือยื่นไม่ตรงตามจริง สร้างความเสี่ยงอย่างมากจากการเรียกตรวจ

ผู้ขายที่ไม่ได้ตั้งราคาขายตามโครงสร้างภาษี มัวแต่กดราคา ตัดราคากันไปมา จะอยู่ไม่ได้ เพราะเมื่อไรที่ถูกบังคับเข้าระบบภาษี พวกเค้าจะขาดทุน มีมาร์จิ้นต่ำๆ จะไปตายตอนยื่นภาษี เพราะรายรับสูงแต่กำไรต่ำ และหัก เหมาจ่ายได้แค่ 60% (ทั้งที่รายรับอาจจะเป็นต้นทุน 70-90%)

การเข้าขายในตลาด matketplace ของคุณ ควรทำในปีนี้ แล้วปีหน้าจะเริ่มเห็นผล เพราะร้านจะปิดไปจำนวนมากจากการที่ยื่นภาษีแล้วขาดทุน และหากพวกเค้าไม่ยื่น ก็มีสิทธิ์โดนเรียกจากสรรพากร ในเวลานั้น ร้านของคุณก็ค่อยๆ เก็บแต้มและย้ายจุดยืนไปสู่จุดสูงขึ้นในตลาด marketplace

การเตรียมตัว ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขายออนไลน์) ตอน 3

มาถึงตรงนี้ เป็นตอนสุดท้ายแล้ว หลักจากที่เราเตรียมตัวทั้งรายได้ต่อปี และ หลักฐานลดหย่อนแล้วก็เป็นตอนจบแบบง่ายๆ เป็นเรื่องของการยื่นภาษี ที่เราทำออนไลน์ได้เลย ที่ www.rd.go.th

“ตอนที่ 3” การยื่นภาษี

การยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ค้าขายออนไลน์ ที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะมีแค่ 2 ตัวคือ

  1. ยื่นกลางปี เรียก ภงด 94 ใช้ยื่นรายได้ครึ่งปี ประมาณเดือน กรกฏาคมของทุกปี
  2. ยื่นปลายปี เรียก ภงด 90 ใช้ยื่นรายได้ทั้งปี ประมาณเดือน มกราคม – มีนาคม ปีถัดไป

ปีภาษี คือ 1 มค – 31 ธค เวลาเราเก็บเอกสารที่เกริ่นมาทั้งหมด เราต้องเก็บทั้งปี แยกเก็บเป็นเดือนๆ ไป แบ่งหมวดหมู่ไฟล์ เพื่อให้ง่าย เมื่อมีการเรียก

เห็นไม๊ว่า เมื่อเราทำเป็นระบบแล้ว เราไม่ต้องเดินทางไปสรรพากร และ เก็บเอกสารเอง ทุกอย่างที่บ้าน ยื่นออนไลน์ ภาพเว็บสรรพากรได้เลย

เพิ่มเติมคือ หากกิจการคุณมีรายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท คุณต้องจด VAT แม้เป็นบุคคลธรรมดา ทำให้มีเรื่องภาษีและเอกสารเยอะขึ้น คือ คุณต้องมีการจ่ายภาษีขาย และ ออกเอกสารใบกำกับภาษีให้ลูกค้าทุกคน จากนั้นต้องนำส่งภาษีด้วยการยื่น ภาษี ภพ 30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทำให้ต้องมีคิดเรื่อง การทำบัญชีต้นทุนเพื่อยื่นค่าใช้จ่ายตามจริง ใช้ VAT ซื้อมาเป็นค่าใช้จ่าย ไม่งั้นหากยังทำแบบเหมาจ่าย จะจ่ายภาษีเยอะมาก เพราะภาษีบุคคลเป็นแบบขั้นบันได

จริงๆ เมื่อเราทำการตรวจสอบรายได้ของเราทุกเดือน เราจะทราบว่า เราจะมีแนวโน้มต้องจดหรือเปล่า เช่นรายรับรวม ใกล้เคียง 150,000 ต่อเดือน แปลว่าสิ้นปีมาคุณจะมียอดรายรับ 1.8 ล้านบาทและต้องจด VAT ซึ่งหลังจากจดแล้ว ความวุ่นวายคุณจะมากขึ้น

ถ้ารายได้เกิดขึ้นดังกล่าว และมีแนวโน้มต้องจด VAT อาจจะต้องไตร่ตรองในการจดทะเบียนนิติบุคคลและยื่นภาษีนิติบุคคลแทน จะลดค่าใช้จ่ายภาษีได้เยอะ เพราะอย่างไรก็ดีสุดท้ายแล้ว ต้องวุ่นวายทำบัญชีค่าใช้จ่าย ต้นทุน และ ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน

การเตรียมตัว ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขายออนไลน์) ตอน 2

ส่วนแรกของตอนที่แล้วเป็นการเตรียมข้อมูลส่วนของรายรับ โดยส่วนของรายจ่ายนั้น เราไม่ต้องเตรียมอะไร เพราะใช้วิธีหักออก แบบเหมาจ่าย 60% ตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องเก็บบิลค่าใช้จ่ายและค่าสินค้าต้นทุนใดๆ

ส่วนตอนที่ 2 นี้ เป็นเรื่องการหักรายจ่ายเพิ่มเติม ที่สรรพากร และ รัฐบาลอนุญาตให้เราหักเพิ่ม เรียกว่า ค่าลดหย่อน ซึ่ง มีลดหย่อนส่วนตัว 60,000 ให้ทุกคน และ ยังมีลดหย่อนบุตร ลดหย่อนบิดามารดาอายุมากกว่า 60 ปี และ ลดหย่อนดูแลผู้พิการ ข้อมูลเงื่อนไขเหล่านี้อ่านได้เพิ่มเติมที่เว็บบัญชีอื่นๆ ซึ่งเราจะสรุป สิ่งที่ต้องรู้เท่านั้น

“ตอนที่ 2” เตรียมเอกสารลดหย่อน

ค่าลดหย่อนนั้นมีทั้งปี ให้เราเก็บเอกสารไว้เลย ทั้งที่เป็นกระดาษและเป็นไฟล์ เอกสารส่วนนี้จะเป็นเอกสารที่มีทั้งลิงก์เข้าระบบสรรพากร และ ไม่ลิงก์เข้าระบบ ทำให้เราต้องเก็บเอกสารไว้ และนำมากรอกได้ (อย่าปลอมแปลงนะ เพราะมีความผิดร้ายแรง) ให้เก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี ไปยัน ท้ายปีเลย เพราะเราจะได้ใช้ 2 ครั้ง (ใบไหนยังไม่ออก ก็ยังไมไ่ด้ใช้)

  • ประเภทเอกสารหลักๆ (ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เราครบถ้วน)
    1. ใบรับรอง ดอกเบี้ยค่าบ้าน / คอนโด (ธนาคารที่เราผ่อนอยู่จะออกให้ทุกปี หลังปีใหม่ ช้าบ้างเร็วบ้าง โทรสอบถามเอา)
    2. ใบรับรอง เบี้ยประกันชีวิต / สุขภาพ (ประกันเราจะออกให้หลังปีใหม่ บางเจ้าต้องทำเรื่องขอ)
    3. ใบรับรอง เลี้ยงดูบิดามารดา อายุเกิน 60 (มีรายได้น้อยกว่า 30000 ต่อปี) ดาวน์โหลดจากเว็บสรรพากร (เตรียมไว้)
    4. ใบบริจาค (สำคัญมากกกกกก) บริจากวัดไหน ปอเต๊กตึ๊ง โรงพยาบาล โรงเรียน หรือ โครงการใดๆ มูลนิธิใดๆ อย่าลืมขอใบเสร็จมา หักลดหย่อนได้ทุกใบ เพราะถือว่า เราจ่ายภาษีพัฒนาสังคมของประเทศเรา ได้บุญแล้วยังหักภาษีได้ด้วย ในส่วนนี้ มีหักได้ 1 เท่า 2 เท่า ค่อยไปแบ่งกรอก ในช่องฟอร์ม
    5. ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ ในกรณีรัฐบาลประกาศ ซื้อสินค้าประเภทใด ลดหย่อนได้ หรือ ช๊อปช่วยชาติ
    6. ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (ทวิ 50) ในกรณี รับเป็นค่าจ้างใดๆ หรือ เกิดจากรายรับใดๆ
  • ให้สแกนเก็บเป็นไฟล์ PDF เตรียมใช้ส่งเข้าระบบภาษีของสรรพากร เผื่อมีการเรียกขอ การเรียกขอดู (เวลาขอดู จะขอดูหลักฐานทุกๆ การลดหย่อน ต้องส่งหมด) เกิดขึ้นเมื่อใด ส่วนมากจะมีการเรียกขอเมื่อ
    1. ไม่เคยลดหย่อนด้วยรายการนี้ มาก่อน เช่นไม่เคยขอลดหย่อนด้วยดอกเบี้ยบ้านมาก่อน ปีนี้ซื้อบ้านก็มีดอกเบี้ยมาลดหย่อน หรือ ประกันชีวิต เป็นต้น
    2. ยอดลดหย่อนเยอะ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยประกัน
    3. มีการขอคืนภาษีที่มีการหัก ณ ที่จ่ายนำส่งไป ปกติ หากเรามีการรับจ้างใดๆ แล้วได้รับค่าจ้าง นายจ้างจะมีใบ ทวิ 50 ให้เรา เป็นใบหัก ณ ที่จ่าย เราก็ต้องเก็บใบนี้ไว้ เพื่อมาขอคืนภาษีได้ ในกรณีเราไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีหลังหักลดหย่อน

เห็นไม๊ว่า ง่ายนิดเดียว เก็บ และ สแกน มาอ่านตอนต่อไป ตอนที่ 3 การยื่นภาษี

การเตรียมตัว ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขายออนไลน์) ตอน 1

เนื่องจากตอบคำถามเรื่องนี้บ่อย รวมถึงมีการหาข้อมูล และอ่านมาค่อนข้างเยอะ จึงนำมาเขียนเป็นบทความยาวๆ หลายๆ ตอน ให้ทำตามกันง่ายๆ บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากเข้าระบบจ่ายให้ถูกต้อง (ไม่เหมาะสำหรับคนพยายามเลี่ยงภาษี)

การยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ การขายของออนไลน์ ทุกช่องทาง เกิดรายได้ ทำให้เรามีหน้าที่ต้องยื่นตามกฏหมาย

การยื่นภาษี ไม่ได้หมายถึงคุณต้องจ่ายภาษี คร่าวๆ แล้ว มีรายได้มากกว่า 520,000 ต่อปี โดยไม่มีลดหย่อนอะไรเพิ่มเลย คุณไม่ได้จ่ายภาษี (แต่ถ้าไม่ยื่น มีความผิด)

ซึ่งตกเฉลี่ยเดือนละ 43,333 บาท (อ้างอิงจาก การยื่นภาษีแบบเหมาจ่าย 60%) รายได้ทั้งปี 520,000 เมื่อหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เหลือ 208,000 แล้วยังหักลดหย่อนบุคคล (ได้ทุกคน) 60,000 เหลือ 148,000 บาท ซึ่งไม่ถึงเกินจ่ายภาษี (เกณฑ์จ่าย ปี 2561 อยู่ที่เงินรายได้สุทธิเกิน 150,000 บ)

บทความนี้จะเหมาะสำหรับผู้ต้องทำการแบบหักเหมาจ่าย มาเตรียมตัวไปพร้อมๆ กัน เพื่อง่ายต่อการยื่น และ ง่ายต่อการเตรียมเอกสาร หรือ ถูกสรรพากรเรียกเข้าพบ

ตอนที่ 1 เตรียมบัญชี (หลักฐานรายรับของคุณ)

เตรียมบัญชีธนาคารให้เป็นระบบ เปิดในชื่อเดียวกัน หรือ ชื่อร้าน เพื่อให้ง่ายต่อการแจ้งบัญชีลูกค้า และ ง่ายต่อการ ใช้จ่ายและแสดงเป็นบัญชีร้าน (มีที่มาที่ไป)

  1. แยกบัญชีส่วนตัว และ บัญชีธุรกิจชัดเจน ไม่เอาเงินมารวมกัน
  2. บัญชีธุรกิจ แยกเป็น
    1. กลุ่มบัญชีรับเงิน ซึ่งอาจจะมีหลายธนาคารเพื่อความสะดวกของลูกค้า และ คุณเองก็ต้องสะดวกในการเช็คยอด เมื่อรับเงินเข้ามาจากการขายสินค้า (เปิด internet banking ทุกบัญชี)
    2. บัญชีจ่ายเงิน บัญชีเดียว โดยเลือกบัญชีจ่ายเป็นบัญชีที่คุณสะดวกที่สุดในการใช้จ่ายต่างๆ และทุกๆ สิ้นเดือน (หรือวันที่คุณกำหนดเอง) ให้ถอนจากทุกบัญชีรับ นำมารวมกัน เพื่อมาฝากเข้าบัญชีเงินจ่าย โดยใช้วิธีถอนมาฝากหากมีหลายบัญชี หรือ หลายธนาคาร เพราะจะได้ไม่เป็นยอดฝากหลายยอด (เปิด internet banking)
  3. ดาวน์โหลด สเตทเม้นท์ จาก internet banking ของทุกบัญชีธนาคาร แยกเป็นรายเดือน บัญชีละ 12 เดือน เก็บในรูปแบบ PDF แนะนำให้ดาวน์โหลด ทุกๆ 3 เดือน เนื่องจาก internet banking จะอนุญาตให้ดูย้อนหลังได้ไม่เกิน 4 – 6 เดือน

เมื่อบัญชีรายรับของคุณเป็นระบบแบบนี้แล้ว ไม่ว่าคุณค้าขายกี่ช่องทาง เงินก็เข้ามารวมในบัญชีของคุณอยู่ดี ไม่ต้องไปตามเก็บว่า ยอดจากเฟซบุ๊คเท่าไร ยอดจากเว็บเท่าไร ยอดจาก Shopee และ Lazada เท่าไร มันจะปวดหัวเกินไป ถ้าคุณไม่ทำเป็นระบบ และ เมื่อนำรายรับเข้ารวมกันทุกบัญชี คุณก็จะได้ยอดรายรับต่อปี เพื่อไปคำนวณอย่างง่ายดาย

รวมถึงเป็นการตรวจสอบเงินได้ของคุณตลอดด้วย เพราะหากเมื่อไร ยอดรวมเกิน 1.8 ล้านต่อปี กฏหมายบังคับให้คุณจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะมีความยุ่งยากกว่าเดิม อาจจะต้องไตร่ตรองในการปรับเป็นนิติบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านภาษีลง

อ่านตอนต่อไป “ตอนที่ 2” เตรียมเอกสารลดหย่อน

ยินดีต้อนรับสู่ เกร็ดความรู้นักขายออนไลน์

In this section of website will be major in Thai language. As this section is for Thai.

ติดตามเฟสบุ๊คได้ที่ เฟสบุ๊ค: เกร็ดความรู้นักขายออนไลน์

ยินดีต้อนรับสู่เพจเกร็ดความรู้ นักขายออนไลน์ ที่นี่คือไมโครเว็บไซต์ ซึ่งจะบรรจุเนื้อหาหลักของบทความ และ เพจด้านบน จะเป็นช่องทางเผยแพร่ และ ติดต่อพูดคุย เราจะแชร์กันเรื่องการค้าขายออนไลน์ เท่าที่ผมมีความรู้ และ ตามความคิดเห็นส่วนตัว

บางอย่างอาจจะรู้กันอยู่แล้ว อย่าเพิ่งหาว่าสอนจระเข้ว่ายน้ำเลย เอาเป็นว่า ให้มือใหม่อ่าน ส่วนบางเรื่องใหม่ๆ อัพเดทตามความเปลี่ยนไปของยุค ก็ช่วยๆ กันคอมเม้นท์มาได้

ตอบคำถามในใจ

  • ทำไมถึงควรอ่านเกร็ดความรู้จากผม?
    จากประสบการณ์ขายของส่งออกให้คนต่างชาติ และ ขายของส่งให้คนไทยด้วยกัน รวมกว่า 12 ปี และปัจจุบันก็ยังทำอยู่ น่าจะพอมีเรื่องราวเขียนให้ได้อ่านกัน ไม่มากก็น้อย
  • ใครอ่านได้บ้าง
    ✔ พ่อค้าแม่ค้า เริ่มต้น
    ✔ มือใหม่
    ✔ มือเก๋า และ
    ✔ ลูกค้าผู้สนใจทั่วไป

เกร็ดความรู้นักขายออนไลน์

อยู่ดีๆ โดน PayPal Limit (อะไรก็ไม่รู้)

อันนี้บอกตรงๆ เลย ไม่เข้าใจว่า Limit อะไร และเมื่อไร เพราะเคยเจอปัญหากับ PayPal มาหลายรูปแบบ ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาทั้ง US Account และ Thai Account

เบื่องต้นเลย คือ มีอีเมลเข้ามา และ เมื่อ Login เข้าไป ก็จะเจอหน้าต่างประมาณนี้

แปลได้ประมาณนี้

หลังจากที่ได้รีวิวบัญชีของคุณแล้ว เราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของคุณเพื่อให้เราบริการคุณอย่างต่อเนื่อง และส่งบัญชีคุณเข้าสู่สถานะปกติ ขออภัย บลาๆๆ

วันที่ 1 มีนาคม 2017
PalPal ต้องการ ข้อมูลระบุตัวตนของคุณ

เราก็งงสิ เพราะเราสมัครเป็น business account ตั้งแต่สมัยขาย ebay และอัพเกรดเพราะการบังคับ ในกรณีต้องการรับบัตรเครดิต แต่ตอนนั้นไม่ได้ต้องการข้อมูลอะไรเลย แค่ให้อัพเกรด และ จ่ายค่าบริการ

Limit ครั้งนี้ไม่บอกว่าจะจำกัดอะไรเรา และ เมื่อไร และไม่ให้ตัวเลือกใดๆ แค่บอกว่า เราว่างเมื่อไร ให้อัพเดทข้อมูล ให้เร็วที่สุด เวลาเรา Login เข้ามาจะเจอหน้าต่างนี้ และ เมื่อใดที่รับชำระ ให้ชำระเงิน ก็จะมีอีเมลแจ้งให้เข้ามาอัพเดททุกครั้ง

จากนั้นจะมี Notification ด้านมุมขวาบน ก็จะมีลิงก์ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูล โห ให้เรากรอก ข้อมูลทางธุรกิจหมดเลย

ก็เขียนอีเมลไปถามมากกว่าครึ่งเดือน ไม่รู้เรื่อง เราเลยต้องยอมไปจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อเอาข้อมูลมากรอก ซะอย่างนั้น แล้วไม่ใช่ง่ายๆ นะ โดน reject ซะหลายรอบ เพราะเอกสารของเรามันเป็นภาษาไทยทั้งหมด

สรุปคือ เป็นการ Limit อะไรก็ไม่รู้ ซึ่งน่าจะยังมีระยะเวลารอให้เราคอนเฟิร์มเอกสาร (แต่ไม่รู้นานเท่าไร) เพราะไม่มีข้อมูลอื่น จากดูลิงก์ดูอะไรประกอบ เห็นมีข้อมูลประมาณ $3000 – $5000 ซึ่งเราก็เดาเอาว่า น่าจะมีการรับเงินสูงถึง $3000 แล้ว เลยต้องการเอกสารยืนยันธุรกิจ (อันนี้ก็เดาเอา) หรือไม่ก็มีการบังคับกฏหมายจากประเทศไทย ให้เก็บข้อมูลทางด้านภาษี

Stay in Bangkok and Need Work Out with Personal Trainer?

My-O-Fit Personal Training

I know that you are probably thinking that it’s not time to work out during the travel period, but if you are thinking about work out and have nothing to do during the raining season or even bored to shopping malls. I offer you a work out session that you can enjoy as your travel wellness.

Either full body work out or strengthen only specified muscles. I am an ACE-Certified personal trainer to help you here.

Where? When? How? with who?
1. Either you stay at Shama Sukhumvit or stay some where else in Bangkok. It is easy to access the gym by BTS. (See the gym and hotel detail) If you are staying at Shama Sukhumvit, you can access the gym for free at 17th floor. If not, pay 200 Baht per access. You also can use rooftop swimming pool.

  1. If you haven’t book a hotel room, you might interested in Wellness Package at Shama which includes the Personal training sessions. If you are already stay at Shama, ask for upgrading or contact the reception for gym session with me (Tony). or contact me directly

  2. Or.. you don’t need to stay at Shama. You can look at my training schedule and contact me.

  3. I am a well trained ACE-certified personal trainer. You can see the personal training detail here. Currently training cost is 800 Baht/hr (1 session) so for whole body training, we can split into 2 or 3 days or even as a circuit training in one day.

Recruit 1 Web Graphic Designer & 1 PHP Web Developer


I am recruiting new member for IT team. 1 Position of Web Graphic Designer, 1 Position of PHP Web Developer
I really like someone to join the team. Please let me know if you are qualify.
General Qualification:
1. Age 26 – 35 years old
2. Thai nationality
3. 2 – 3 Years Experience
4. Fair English communication

Salary is 25,000 Baht – 40,000 Baht depends on your experience.
Our office located in Silom, Bangkok. Easy to commute by BTS/MRT

More qualification is after the jump or download this recruitment description here
Continue reading Recruit 1 Web Graphic Designer & 1 PHP Web Developer

Testing New Invoice Format for SPM


The project I am talking about is an online/offline payment solutions for Australia merchant. BPAY and PostBillPay is very popular to merchant in Australia. After this patch done, I will expand the project bigger and that would effect a lot of product of our company. This is including accept credit card and all will need PCI Compliance. None of Thai Banking doing this or very few.

This time, I will need to patching the invoice generator to fix the bug on the first of August. All the tests are good and believe tomorrow test will be good. I was on this problem for about 2 months already. The first month I have to fix the logic of wrong fee calculation and that was fixed. Now is the patch for the new invoice that will display the correct amount of fee that charge to clients.

Sometimes, working on financial stuff is too scared for wrong things happen, but after fix and test for many times that could make us confident for the results. Tomorrow too, I am very confident it would pass very easy.