มาถึงตรงนี้ เป็นตอนสุดท้ายแล้ว หลักจากที่เราเตรียมตัวทั้งรายได้ต่อปี และ หลักฐานลดหย่อนแล้วก็เป็นตอนจบแบบง่ายๆ เป็นเรื่องของการยื่นภาษี ที่เราทำออนไลน์ได้เลย ที่ www.rd.go.th
“ตอนที่ 3” การยื่นภาษี
การยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ค้าขายออนไลน์ ที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะมีแค่ 2 ตัวคือ
- ยื่นกลางปี เรียก ภงด 94 ใช้ยื่นรายได้ครึ่งปี ประมาณเดือน กรกฏาคมของทุกปี
- ยื่นปลายปี เรียก ภงด 90 ใช้ยื่นรายได้ทั้งปี ประมาณเดือน มกราคม – มีนาคม ปีถัดไป
ปีภาษี คือ 1 มค – 31 ธค เวลาเราเก็บเอกสารที่เกริ่นมาทั้งหมด เราต้องเก็บทั้งปี แยกเก็บเป็นเดือนๆ ไป แบ่งหมวดหมู่ไฟล์ เพื่อให้ง่าย เมื่อมีการเรียก
เห็นไม๊ว่า เมื่อเราทำเป็นระบบแล้ว เราไม่ต้องเดินทางไปสรรพากร และ เก็บเอกสารเอง ทุกอย่างที่บ้าน ยื่นออนไลน์ ภาพเว็บสรรพากรได้เลย
เพิ่มเติมคือ หากกิจการคุณมีรายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท คุณต้องจด VAT แม้เป็นบุคคลธรรมดา ทำให้มีเรื่องภาษีและเอกสารเยอะขึ้น คือ คุณต้องมีการจ่ายภาษีขาย และ ออกเอกสารใบกำกับภาษีให้ลูกค้าทุกคน จากนั้นต้องนำส่งภาษีด้วยการยื่น ภาษี ภพ 30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทำให้ต้องมีคิดเรื่อง การทำบัญชีต้นทุนเพื่อยื่นค่าใช้จ่ายตามจริง ใช้ VAT ซื้อมาเป็นค่าใช้จ่าย ไม่งั้นหากยังทำแบบเหมาจ่าย จะจ่ายภาษีเยอะมาก เพราะภาษีบุคคลเป็นแบบขั้นบันได
จริงๆ เมื่อเราทำการตรวจสอบรายได้ของเราทุกเดือน เราจะทราบว่า เราจะมีแนวโน้มต้องจดหรือเปล่า เช่นรายรับรวม ใกล้เคียง 150,000 ต่อเดือน แปลว่าสิ้นปีมาคุณจะมียอดรายรับ 1.8 ล้านบาทและต้องจด VAT ซึ่งหลังจากจดแล้ว ความวุ่นวายคุณจะมากขึ้น
ถ้ารายได้เกิดขึ้นดังกล่าว และมีแนวโน้มต้องจด VAT อาจจะต้องไตร่ตรองในการจดทะเบียนนิติบุคคลและยื่นภาษีนิติบุคคลแทน จะลดค่าใช้จ่ายภาษีได้เยอะ เพราะอย่างไรก็ดีสุดท้ายแล้ว ต้องวุ่นวายทำบัญชีค่าใช้จ่าย ต้นทุน และ ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน
ส่วนแรกของตอนที่แล้วเป็นการเตรียมข้อมูลส่วนของรายรับ โดยส่วนของรายจ่ายนั้น เราไม่ต้องเตรียมอะไร เพราะใช้วิธีหักออก แบบเหมาจ่าย 60% ตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องเก็บบิลค่าใช้จ่ายและค่าสินค้าต้นทุนใดๆ
ส่วนตอนที่ 2 นี้ เป็นเรื่องการหักรายจ่ายเพิ่มเติม ที่สรรพากร และ รัฐบาลอนุญาตให้เราหักเพิ่ม เรียกว่า ค่าลดหย่อน ซึ่ง มีลดหย่อนส่วนตัว 60,000 ให้ทุกคน และ ยังมีลดหย่อนบุตร ลดหย่อนบิดามารดาอายุมากกว่า 60 ปี และ ลดหย่อนดูแลผู้พิการ ข้อมูลเงื่อนไขเหล่านี้อ่านได้เพิ่มเติมที่เว็บบัญชีอื่นๆ ซึ่งเราจะสรุป สิ่งที่ต้องรู้เท่านั้น
“ตอนที่ 2” เตรียมเอกสารลดหย่อน
ค่าลดหย่อนนั้นมีทั้งปี ให้เราเก็บเอกสารไว้เลย ทั้งที่เป็นกระดาษและเป็นไฟล์ เอกสารส่วนนี้จะเป็นเอกสารที่มีทั้งลิงก์เข้าระบบสรรพากร และ ไม่ลิงก์เข้าระบบ ทำให้เราต้องเก็บเอกสารไว้ และนำมากรอกได้ (อย่าปลอมแปลงนะ เพราะมีความผิดร้ายแรง) ให้เก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี ไปยัน ท้ายปีเลย เพราะเราจะได้ใช้ 2 ครั้ง (ใบไหนยังไม่ออก ก็ยังไมไ่ด้ใช้)
- ประเภทเอกสารหลักๆ (ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เราครบถ้วน)
- ใบรับรอง ดอกเบี้ยค่าบ้าน / คอนโด (ธนาคารที่เราผ่อนอยู่จะออกให้ทุกปี หลังปีใหม่ ช้าบ้างเร็วบ้าง โทรสอบถามเอา)
- ใบรับรอง เบี้ยประกันชีวิต / สุขภาพ (ประกันเราจะออกให้หลังปีใหม่ บางเจ้าต้องทำเรื่องขอ)
- ใบรับรอง เลี้ยงดูบิดามารดา อายุเกิน 60 (มีรายได้น้อยกว่า 30000 ต่อปี) ดาวน์โหลดจากเว็บสรรพากร (เตรียมไว้)
- ใบบริจาค (สำคัญมากกกกกก) บริจากวัดไหน ปอเต๊กตึ๊ง โรงพยาบาล โรงเรียน หรือ โครงการใดๆ มูลนิธิใดๆ อย่าลืมขอใบเสร็จมา หักลดหย่อนได้ทุกใบ เพราะถือว่า เราจ่ายภาษีพัฒนาสังคมของประเทศเรา ได้บุญแล้วยังหักภาษีได้ด้วย ในส่วนนี้ มีหักได้ 1 เท่า 2 เท่า ค่อยไปแบ่งกรอก ในช่องฟอร์ม
- ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ ในกรณีรัฐบาลประกาศ ซื้อสินค้าประเภทใด ลดหย่อนได้ หรือ ช๊อปช่วยชาติ
- ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (ทวิ 50) ในกรณี รับเป็นค่าจ้างใดๆ หรือ เกิดจากรายรับใดๆ
- ให้สแกนเก็บเป็นไฟล์ PDF เตรียมใช้ส่งเข้าระบบภาษีของสรรพากร เผื่อมีการเรียกขอ การเรียกขอดู (เวลาขอดู จะขอดูหลักฐานทุกๆ การลดหย่อน ต้องส่งหมด) เกิดขึ้นเมื่อใด ส่วนมากจะมีการเรียกขอเมื่อ
- ไม่เคยลดหย่อนด้วยรายการนี้ มาก่อน เช่นไม่เคยขอลดหย่อนด้วยดอกเบี้ยบ้านมาก่อน ปีนี้ซื้อบ้านก็มีดอกเบี้ยมาลดหย่อน หรือ ประกันชีวิต เป็นต้น
- ยอดลดหย่อนเยอะ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยประกัน
- มีการขอคืนภาษีที่มีการหัก ณ ที่จ่ายนำส่งไป ปกติ หากเรามีการรับจ้างใดๆ แล้วได้รับค่าจ้าง นายจ้างจะมีใบ ทวิ 50 ให้เรา เป็นใบหัก ณ ที่จ่าย เราก็ต้องเก็บใบนี้ไว้ เพื่อมาขอคืนภาษีได้ ในกรณีเราไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีหลังหักลดหย่อน
เห็นไม๊ว่า ง่ายนิดเดียว เก็บ และ สแกน มาอ่านตอนต่อไป ตอนที่ 3 การยื่นภาษี
Everything is just like a box. The World is also a spherical shaped box. So welcome to my box.